3 ขั้นตอน
ขออนุญาตใช้พื้นสาธารณะเพื่อการถ่ายทำภาพยนตร์
ขั้นที่ 1
สร้างคำขออนุญาต
แนบเอกสารประกอบ
คัดกรองคำขออนุญาต
ไม่เกิน 1-3 วันทำการ
ขั้นที่ 2
รอพิจารณา และ
ชำระค่าบริการ (ถ้ามี)
ดำเนินการพิจารณา
ไม่เกิน 7-14 วันทำการ*
ขั้นที่ 3
เข้าใช้พื้นที่ถ่ายทำ และ
ชำระค่าปรับ (ถ้ามี)
ใช้พื้นที่
ตามวันและเวลาที่ได้รับอนุญาต
ขั้นที่ 1
สร้างคำขออนุญาต แนบเอกสารประกอบ
พื้นที่บริเวณหนึ่ง อาจมีหน่วยงานผู้ดูแลพื้นที่มากกว่า 1 หน่วยงานร่วมกัน ผู้ขออนุญาต (กองถ่าย) สร้างเพียง 1 คำขอฯ จากนั้นศูนย์ BFMCC จะประสานงานแต่ละหน่วยงาน เพื่อให้พิจารณาอนุญาตคำขอร่วมกันผ่านระบบ
หมายเหตุ :
บางตำแหน่งในพื้นที่ อาจไม่สามารถขออนุญาตผ่านระบบได้ เนื่องจากอำนาจดูแลเป็นของหน่วยงานเอกชน หรือ พื้นที่ส่วนบุคคล
ตัวอย่าง การขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์พื้นที่บริเวณในซอยย่านบางรัก ผู้ขอสามารถสร้างเพียง 1 คำขออนุญาต โดยศูนย์ BFMCC จะประสานงานแต่ละหน่วยงาน ดังนี้
  • ทางเท้า ดูแลโดย สำนักงานเขตบางรัก
  • พื้นถนน ดูแลโดย กองบังคับการตำรวจจราจร และ สำนักงานตำรวจในพื้นที่
หมายเหตุ :
อาคารและร้านค้าภายในซอย ผู้ขอฯ ควรติดต่อเจ้าของอาคารโดยตรงเพื่อแจ้งขออนุญาต และ แจ้งให้ทราบถึง การกีดขวางเส้นทางระหว่างช่วงวันและเวลาที่ใช้พื้นที่ถ่ายทำฯ
ขอบเขตความรับผิดชอบพื้นที่ที่ควรทราบ
รายชื่อหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่ได้ร่วมมือกับกทม. และ ศูนย์ BFMCC ที่ได้เปิดพื้นที่สาธารณะให้ใช้ถ่ายทำภาพยนตร์
  • กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) และ กองบังคับการตำรวจจราจร
  • การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
  • การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย MRTA
  • บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BTS
  • กรมศิลปากร (กองโบราณคดี)
  • กรมธนารักษ์
  • การเคหะแห่งชาติ
  • กรมทางหลวง
  • กรมทางหลวงชนบท

  1. รายละเอียดพื้นใช้พื้นที่
    1. บทภาพยนตร์ (Shooting Script) หรือ สตอรีบอร์ด (Storyboard) เป็นภาษาไทย
      • ระบุเฉพาะฉากที่จะถ่ายทำในพื้นที่ที่ขออนุญาต
    2. กำหนดการถ่ายทำ
      • ระบุเวลาและขั้นตอนการถ่ายทำ ในพื้นที่ที่ขออนุญาตอย่างละเอียด
    3. รายละเอียดและรูปถ่ายการติดตั้งในพื้นที่
      • ระบุพื้นที่จุดถ่ายทำ จุดตั้งกล้องพร้อมอุปกรณ์ จุดพักกอง และรายละเอียดอื่นๆ เช่น จำนวนเต็นท์ การประกอบอาหาร เป็นต้น
    4. รายละเอียดการนำรถขนาดใหญ่เข้าภายในพื้นที่
      • กรณีมีรถบรรทุกเครนขนาดใหญ่ หรือ เครื่องปั่นไฟ น้ำหนักเกิน 1 ตัน
    5. รายละเอียดและรูปถ่ายการติดตั้งพิเศษภายในพื้นที่
      • เช่น เวที ติดตั้งธง ไฟประดับ
    6. รายละเอียด รูปถ่าย และ แบบแปลนการก่อสร้างฉากประกอบการถ่ายทำ
      • (ถ้ามี)
  2. กรณีขอนำอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน (โดรน) ขึ้นบินในพื้นที่
    1. สำเนาใบอนุญาต ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน (ผู้บังคับโดรน)
    2. สำเนาใบรับรองการขึ้นทะเบียน เครื่องวิทยุคมนาคมสำหรับอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน (โดรน)
  3. กรณีขออนุญาตในนามตัวแทนของกองถ่ายต่างประเทศ
    กองถ่ายต่างประเทศจะต้องผู้ประสานงานการถ่ายทําภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย
    อ้างอิง ประกาศ กรมการท่องเที่ยว เรื่อง หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประสานงานการถ่ายทําภาพยนตร์ ต่างประเทศในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๐
    1. หนังสืออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย สำหรับกองถ่ายต่างประเทศ
    2. สำเนาบัตรประชาชน ผู้มอบอำนาจ
        เซ็นชื่อลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
    3. สำเนาบัตรประชาชน ผู้รับมอบอำนาจ
        เซ็นชื่อลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
    4. หนังสือมอบอำนาจ
        กรอกและเซ็นชื่อลงนาม
  4. ข้อมูลผู้ขออนุญาต (สำหรับการบันทึกข้อมูลครั้งแรก)
    1. สำเนาบัตรประชาชนผู้ขออนุญาต
        เซ็นชื่อลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
    2. กรณีมีสังกัดบริษัท: หนังสือรับรองนิติบุคคล/หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
        เซ็นชื่อลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง และ ตราประทับ
    3. กรณีมีสังกัดบริษัท: สำเนาบัตรประชาชนกรรมการบริษัท
        เซ็นชื่อลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
  5. สร้างคำขออนุญาตใหม่
      พร้อมแนบเอกสารในข้อ 01 - 04

  1. การถ่ายทำสื่อทุกประเภทที่มีการถ่ายทำในพื้นที่สาธารณะ
    1. ภาพยนตร์/หนังสั้น
    2. ละคร/ซีรีส์
    3. มิวสิควีดิโอ
    4. โฆษณา
    5. รายการ
    6. สารคดี
    7. อื่นๆ ที่มีการใช้พื้นที่สาธารณะ
  2. จุดประสงค์การถ่ายทำ
    ครอบคลุมทุกจุดประสงค์ ทั้งสื่อที่ก่อให้เกิดรายได้เชิงพาณิชย์ สื่อเพื่อการศึกษา และสื่อเพื่อสาธารณะประโยชน์ เป็นต้น
  3. รูปแบบการถ่ายทำและขนาดของกองถ่าย
    ครอบคลุมทุกรูปแบบและขนาดของกองถ่าย ตั้งแต่การถ่ายทำด้วยกล้องโทรศัพท์มือถือ ไปจนถึงกองถ่ายทำมืออาชีพ

การใช้พื้นที่สาธารณะ พื้นที่เดิม ต่างเนื้อหาหรือโครงการถ่ายทำ
ผู้ขออนุญาต จำเป็นต้อง ‘สร้างคำขออนุญาตใหม่’ เนื่องจากรายละเอียดประกอบการพิจารณา เช่น บทภาพยนตร์ ลักษณะการเข้าใช้พื้นที่ รวมทั้งวันที่และระยะเวลาแตกต่างกัน

นอกเหนือจากการขออนุญาตใช้พื้นที่สาธารณะจาก หน่วยงานสังกัด กทม. และ ภาคี ผ่านศูนย์ BFMCC ผู้ขออนุญาต จำเป็นต้องประสานงานผู้ที่จะได้รับผลกระทบ จากการจัดตั้งกองถ่าย และ การถ่ายทำดังนี้
  • พื้นที่สาธารณะในการดูเเลของหน่วยงานนอกสังกัด กทม. เช่น
  • การถ่ายทำบนท่าเรือ คลอง เเม่น้ำ เเหล่งน้ำ ขออนุญาตผ่าน ‘กรมเจ้าท่า’
    การถ่ายทำอุทยานฯ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขตห้ามล่าสัตว์ ขออนุญาตผ่าน กรมอุทยานฯ
  • การถ่ายทำบนท้องถนน
  • ขอออนุญาตผ่าน ‘ตำรวจนครบาล’ ท้องที่ของสถานีตำรวจนครบาลในกรุงเทพมหานคร และ‘ตำรวจจราจร’
  • การถ่ายทำบริเวณหน้า/ในอาคาร หรือพื้นที่ส่วนบุคคล
  • ควรขออนุญาต ‘หน่วยงานเอกชนหรือเจ้าของพื้นที่’
  • การถ่ายทำใกล้เคียงชุมชน หรือ ที่พักอาศัยส่วนบุคคล
  • ควรขออนุญาต‘หัวหน้าชุมชน หรือ เจ้าของที่พักอาศัยโดยตรง’
  • ศาสนสถาน
  • ควรขออนุญาต ‘ผู้นำทางศาสนา’ รายพื้นที่ เช่น เจ้าอาวาสวัด
  • สถานศึกษา สถานพยาบาล
  • ควรขออนุญาต ‘ผู้อำนวยการสถานที่’
เป็นต้น

กองถ่ายต่างประเทศที่เข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย
จะต้องเตรียมการและเอกสาร ดังนี้

ขั้นที่ 2
รอพิจารณา และ ชำระค่าบริการ (ถ้ามี)
*เวลาที่ใช้ในการรอพิจารณาอนุญาต ขึ้นอยู่กับ 'ประเภทพื้นที่สาธารณะตามหน่วยงานพิจารณา' แบ่งเป็น 3 ประเภท
ประเภทที่ 1
พิจารณาโดย 1 หน่วยงาน
พิจารณาไม่เกิน 7 วันทำการ
ตัวอย่าง สวนลุมพินี พิจารณาโดยสำนักสิ่งแวดล้อม กทม.
ประเภทที่ 2
พิจารณาร่วม โดยหน่วยงาน
มากกว่า 1 หน่วยงาน
พิจารณาไม่เกิน 14 วันทำการ
ตัวอย่าง สวนเบญจกิติ พิจารณาโดยสำนักสิ่งแวดล้อม ร่วมกับกรมธนารักษ์
ประเภทที่ 3
พื้นที่ที่มีระเบียบการใช้แบบพิเศษ
พิจารณาไม่เกิน 30 วันทำการ
ตัวอย่าง ถ่ายทำบนถนน (พื้นผิวจราจร) พิจารณาโดย กองบัญชาการตำรวจนครบาล
สามารถตรวจสอบ 'ประเภทพื้นที่สาธารณะตามหน่วยงานผู้มีอำนาจพิจารณา' รายสถานที่ได้จาก
รายละเอียดสถานที่ > แท็บข้อมูลเพื่อการถ่ายทำภาพยนตร์ > สังเกตที่ Tag ที่แสดงด้านขวามือ
หมายเหตุ :
วันทำการ หมายถึง วันจันทร์-ศุกร์ 8.30-14.30 น. ไม่นับรวมวันหยุดราชการ (วันเสาร์-อาทิตย์ วันหยุดราชการประจำปี/พิเศษอื่น ๆ)

ค่าบริการใช้พื้นที่สาธารณะเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์ ขึ้นอยู่กับระเบียบของหน่วยงานผู้มีอำนาจดูแลพื้นที่รายสถานที่ แบ่งเป็นค่าบริการ 8 ประเภทเบื้องต้น ดังนี้
  1. ค่าใช้สถานที่/ค่าเช่าสถานที่
  2. ค่าประกันความเสียหายสถานที่ (รับคืนหลังส่งมอบพื้นที่)
  3. ค่าเช่าสิ่งอำนวยความสะดวกในพื้นที่ เช่น ห้องน้ำ แอร์
  4. ค่าเช่าอุปกรณ์ลอยตัว เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เครื่องขยายเสียง
  5. ค่าบริการทำความสะอาด
  6. ค่าเบี้ยเลี้ยง และ ค่าล่วงเวลาเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกในพื้นที่
  7. ค่าบริการพิเศษอื่น ๆ เช่น การบันทึกภาพหรือวิดิทัศน์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
  8. ค่าปรับ (หากเกิดความเสียหายในพื้นที่ หรือ ผิดพรบ. ที่เกี่ยวข้อง)

ขั้นที่ 3
เข้าใช้พื้นที่ถ่ายทำ และ ชำระค่าปรับ (ถ้ามี)
เวลาที่ใช้ในการรอพิจารณาอนุญาต ขึ้นอยู่กับ 'ประเภทพื้นที่สาธารณะตามหน่วยงานพิจารณา'แบ่งเป็น 3 ประเภท
ผู้ขออนุญาตเข้าใช้พื้นที่ในการจัดกิจกรรม ภายใต้เงื่อนไขวันที่ เวลา และรายละเอียดที่ได้ทำการขออนุญาต ภายใต้ระเบียบ การใช้พื้นที่ของแต่ละหน่วยงาน
ระเบียบที่เกี่ยวข้องเบื้องต้น
  • All Categories
  • System.Collections.Generic.List`1[Busking.Models.Language]
  • System.Collections.Generic.List`1[Busking.Models.Language]
  • System.Collections.Generic.List`1[Busking.Models.Language]
  • System.Collections.Generic.List`1[Busking.Models.Language]
  • System.Collections.Generic.List`1[Busking.Models.Language]
  • System.Collections.Generic.List`1[Busking.Models.Language]
  • System.Collections.Generic.List`1[Busking.Models.Language]
  • System.Collections.Generic.List`1[Busking.Models.Language]
พื้นที่ทั้งหมด
แนวทางปฏิบัติเบื้องต้น การใช้พื้นที่สาธารณะ
  1. ไม่ทำให้พื้นที่เกิดความเสียหาย ชำรุด
    1. ไม่ขูด กระเทาะ ขีด เขียน พ่นสี หรือสร้างรูปรอยใดๆ บนผนัง บนถนน ต้นไม้ และพื้นผิวอื่น ๆ ในพื้นที่
    2. ไม่ตัด โค่น เด็ด ต้นไม้ ใบ ดอก ผล หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นไม้ ที่ปลูกไว้หรือขึ้นเองตามธรรมชาติ
    3. จัดหาอุปกรณ์ป้องกันอุบัติเหตุ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับอาคาร สิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้ ไม้ดอก ไม้ประดับ สนามหญ้า หรือทรัพย์สินอื่น ๆ ที่อยู่ในบริเวณพื้นที่
    4. ในกรณีที่เกิดความเสียหายกับอาคาร สิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้ หรือทรัพย์สินอื่น ๆ ของทางราชการที่อยู่ในพื้นที่สาธารณะ จากการเข้าไปใช้ประโยชน์ ผู้ขออนุญาตต้องรับผิดชดใช้ ค่าเสียหายภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตได้รับแจ้งค่าเสียหาย หรือยินยอมให้หักเอาจากหลักประกัน (ถ้ามี)
  2. รักษาความสะอาด
    ดูแลรักษา เก็บกวาด ทำความสะอาด และทำให้บริเวณที่ใช้ถ่ายทำฯ กลับสู่สภาพเดิมให้เรียบร้อย ด้วยทุนทรัพย์ของผู้ขออนุญาตเอง
  3. ไม่สร้างความเดือดร้อน ต่อประชาชนผู้ใช้พื้นที่สาธารณะ
    ไม่วางสิ่งของกีดขวางทางเท้า ทางสาธารณะ จนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัย หรือความสะดวกในการสัญจร
  4. ไม่บันทึกภาพบุคคลอื่น โดยไม่ได้รับอนุญาต
  5. ไม่ทำอนาจารในพื้นที่สาธารณะ
  6. ไม่นำรถยนต์และรถจักรยานยนต์เข้ามาจอดภายในบริเวณสวนสาธารณะ
  7. ไม่สูบบุหรี่ภายในสวนสาธารณะโดยเด็ดขาด
  8. ไม่นำสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ทุกชนิด เข้ามาดื่มภายในสวนสาธารณะ
  9. ไม่เสพยาเสพติดทุกประเภท
  10. ไม่นำสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้ามาในสวนสาธารณะ (ยกเว้นพื้นที่สวนสาธารณะที่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าได้)
หมายเหตุ :
ข้อปฏิบัติพื้นที่มีรายละเอียดแนวทางปฏิบัติแตกต่างกัน หน่วยงานผู้ดูแลพื้นที่จะส่งเอกสารรายละเอียดข้อปฏิบัติ แนบมากับผลการพิจารณาคำขอที่ได้รับอนุญาต
BFMCC (Bangkok Filmmaking Coordinator Center)
ศูนย์ประสานงานการถ่ายทำภาพยนตร์ในพื้นที่กรุงเทพฯ
ดำเนินการโดย สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว
BFMCC ทำหน้าที่ ประสานงานและส่งต่อเรื่อง ไปยังหน่วยงานผู้มีอำนาจดูแลพื้นที่ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีภารกิจหลักในการ “อำนวยความสะดวก ลดขั้นตอน เพิ่มความชัดเจน” การทำเรื่องขออนุญาตการใช้พื้นสาธารณะ เพื่อการถ่ายทำ ภาพยนตร์ให้กับทั้งกองถ่ายภาพยนตร์ ละคร ซีรีส์ รายการ สารคดี มิวสิควีดีโอ ทั้งกองถ่ายไทย และ กองถ่ายจากต่างประเทศ

ติดต่อศูนย์ BFMCC
02 203 2749 / 02 225 7612 - 3
bkkbfmcc@gmail.com
อาคารทำการส่วนการท่องเที่ยว (ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว) ถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร กทม.