รายละเอียดพื้นที่
พิจารณามากกว่า 1 หน่วยงาน: ไม่เกิน 14 วัน
สวนเบญจกิติ แหล่งเรียนรู้ศึกษาธรรมชาติทางนิเวศวิทยา สวนแห่งนี้มีทั้งสถานที่ออกกำลังกาย ทางเดินศึกษาธรรมชาติ แหล่งเรียนรู้พันธุ์ไม้หายาก และพิพิธภัณฑ์
หน่วยงานผู้ดูแลพื้นที่ (มีอำนาจพิจารณาคำขออนุญาตใช้พื้นที่)
1. สำนักสิ่งแวดล้อม
2. กรมธนารักษ์
หมายเหตุ:
สวนเบญจกิติ ต้องผ่านการพิจารณาอนุญาต จาก 2 หน่วยงาน
1. สำนักสิ่งแวดล้อม
พิจารณาอนุญาตก่อน แล้วจึงส่งเรื่องต่อไปยังกรมธนารักษ์ต่อไป
2. กรมธนารักษ์ รับการประสานเรื่อง และ พิจารณาอนุญาตเป็นลำดับสุดท้าย (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ขั้นตอนการขอเช่าสวนสาธารณะที่เป็นกรรมสิทธิ์ของกรมธนารักษ์)
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ ที่ควรแจ้งขอใช้พื้นที่
- สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว กรณีต้องการใช้พื้นที่อาคารกีฬา และท่าเรือกิจกรรมกีฬาทางน้ำ อาจทำให้มีระยะเวลาดำเนินการขออนุญาตเกินกว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้
- ประชาชนโดยรอบ กรณีต้องการใช้เครื่องขยายเสียง
บริเวณที่อนุญาตให้ถ่ายทำ และจัดตั้งกองถ่าย
พื้นที่ภายในสวนสาธารณะ เฉพาะพื้นที่สีเขียว
บริเวณที่ไม่อนุญาตให้ถ่ายทำ หรือจัดตั้งกองถ่าย
- ไม่อนุญาตให้ถ่ายทำลานอเนกประสงค์ลอยน้ำ ตามเอกสารบันทึกข้อตกลงกทม.และกรมธนารักษ์ ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2551 (ห้ามมิให้มีการใช้ประโยชน์หรือจัดกิจกรรมใด ๆ บนลานดังกล่าว)
- ไม่อนุญาตให้ถ่ายทำภายในอาคารพิพิธภัณฑ์สวนป่าเบญจกิติ
- การถ่ายทำภายในอาคารกีฬา จะต้องทำหนังสือขออนุญาตถึงสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว (สวท.)
- ไม่อนุญาตให้ถ่ายทำบริเวณอาคารสำนักงาน
- ไม่อนุญาตให้ถ่ายทำบริเวณพื้นที่ในน้ำ
- ไม่อนุญาตให้ถ่ายทำบริเวณทางเดินลอยฟ้า (Sky Walk) เนื่องจากมีพื้นที่คับแคบส่งผลกระทบกับการใช้บริการของประชาชน
- ไม่อนุญาตให้ถ่ายทำยานพาหนะทุกชนิดในสวน ยกเว้นจักรยาน วีลแชร์ รถเข็นเด็ก โดยสามารถถ่ายทำเฉพาะในช่องทางจักรยาน และตามเวลาที่สวนกำหนด
- หลีกเลี่ยงการถ่ายทำที่กีดขวางทางเดิน-วิ่งโดยรอบสวน ในขณะที่มีประชาชนเข้ามาใช้บริการเป็นจำนวนมาก
พื้นที่ที่เปิดให้ใช้ถ่ายทำภาพยนตร์
- ลานอัฒจันทร์สวนน้ำ
- ลานอัฒจันทร์กลาง
- สนามเด็กเล่น
- บริเวณพื้นสนามหญ้า
ความจุพื้นที่ สำหรับกองถ่าย
ทีมงานและนักแสดงไม่เกิน 50 คน
วันและเวลาที่อนุญาตให้ใช้พื้นที่ เพื่อถ่ายทำภาพยนตร์
วันจันทร์ - วันศุกร์
เวลาถ่ายทำ 09.00-15.00 น.
เวลาติดตั้งอุปกรณ์ 09.00 น.
เวลารื้อถอน ไม่เกิน 17.00 น.
วันและเวลาที่ไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่ เพื่อถ่ายทำภาพยนตร์/ควรหลีกเลี่ยง
ไม่อนุญาตให้ถ่ายทำวันเสาร์ - วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือการประกาศหยุดของกรุงเทพมหานคร
ระเบียบการใช้พื้นที่
ข้อกำหนดการใช้สถานที่
- อนุญาตให้ถ่ายทำเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน
- อนุญาตให้ถ่ายสุนัข ในบริเวณสวนสุนัข เท่านั้น
- ไม่อนุญาตให้ถ่ายทำเนื้อหาที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของสวน
- ไม่อนุญาตให้ถ่ายทำเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง การใช้อาวุธ หรือกิจกรรมที่ขัดหรือผิดต่อกฎระเบียบของสวน เช่น การนำลูกโป่งเข้ามาในสวน การนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในสวน การจุดพลุ การก่อกองไฟหรือตั้งเตาแก๊ส การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา และการทำอนาจาร
- ไม่อนุญาตให้ถ่ายทำเนื้อหาที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อนักแสดง ทีมงาน และประชาชนผู้ใช้บริการ รวมถึงอาจเป็นอันตรายต่อสาธารณสมบัติภายในสวน
- ลักษณะการถ่ายทำ จำนวนทีมงานการถ่ายทำ และอุปกรณ์ของกองถ่าย ต้องไม่กีดขวางหรือส่งผลกระทบต่อทางเดิน-วิ่งของประชาชนผู้ใช้บริการ
- ไม่อนุญาตให้บินโดรนภายในสวน
- ไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่สนามหญ้าโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยเฉพาะลานสนามหญ้าที่มีรากของต้นไม้ใหญ่ ซึ่งถือเป็นต้นไม้เก่าแก่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ภายในสวน
- ประกาศกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2546 เรื่อง การจัดระเบียบในสวนสาธารณะ
- พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2565
- แนวทางการจัดการมูลฝอยฯ
ระเบียบและข้อปฏิบัติสำคัญ
- ห้ามนำรถทุกชนิดเข้ามาภายในบริเวณห้ามเข้าต่าง ๆ ยกเว้นรถที่ได้รับอนุญาต จำนวนไม่เกิน 3 คัน และต้องแลกบัตรติดรถ เพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ของสวน โดยรถที่ได้รับอนุญาตต้องไม่จอดบนสนามหญ้า ทางเดินเท้าที่ทำด้วยอิฐตัวหนอน ศาลาพักผ่อน หรือในที่ที่กีดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สวน และหากมีความจำเป็นต้องใช้รถคันอื่น ๆ สามารถใช้วิธีหมุนเวียนสับเปลี่ยนกันแต่ต้องไม่เกิน 3 คัน ต้องแลกบัตรวันต่อวัน และส่งบัตรคืนไม่เกินเวลา 17.00 น. ของวันดังกล่าว หากมีการชำรุดจะไม่สามารถขอรับเงินประกันของกรมธนารักษ์ (6,000 หรือ 12,000 บาท หรือตามระเบียบของกรมธนารักษ์ และต้องดำเนินการซ่อมแซมแก้ไข ต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นภายใน 7 วัน)
รายละเอียดข้อปฏิบัติการใช้สถานที่
อุปกรณ์การถ่ายทำที่อนุญาตให้ใช้ในพื้นที่
• อากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน (โดรน)
* หมายเหตุ: ต้องได้รับการอนุญาตการบินโดรนจากกรุงเทพมหานครและสำนักงานการบินพลเรือนแล้ว
• เครื่องเสียง
* หมายเหตุ: ระดับเสียงที่ไม่รบกวนประชาชนผู้ใช้บริการ
ยานพาหนะที่อนุญาตให้เข้าจอดในพื้นที่
• รถนั่งส่วนบุคคล
• รถตู้
• รถปั่นไฟ
สิ่งอำนวยความสะดวกและค่าใช้จ่าย
สิ่งอำนวยความสะดวก
- อาคารสุขาสาธารณะ จำนวน 9 หลัง
- ลานจอดรถยนต์ A 300 คัน
- ลานจอดรถยนต์ B 100 คัน
- ลานจอดจักรยานยนต์ 200 คัน
* หมายเหตุ ไม่สามารถจองพื้นที่สำหรับจอดรถ
การใช้ไฟฟ้า
ไม่มีไฟฟ้าให้บริการ
ไม่มีค่าบริการ
การใช้น้ำประปา
ไม่มีน้ำประปาให้บริการ
ไม่มีค่าบริการ
การใช้ห้องน้ำ
มีห้องน้ำให้บริการ
ไม่มีค่าบริการ
ไม่มีค่าบริการการใช้ห้องสุขา
อัตราค่าบริการใช้สถานที่/ค่าใช้จ่ายเบื้องต้น
- การถ่ายภาพนิ่งเพื่อธุรกิจ วันละ 3,000 บาท
- การถ่ายทำภาพยนตร์ไทยเพื่อธุรกิจ วันละ 6,000 บาท
- กองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ วันละ 12,000 บาท
- กิจกรรมไม่เกิน 6 ชั่วโมง วันละ 4,000 บาท
- กิจกรรมมากกว่า 6 ชั่วโมง วันละ 7,500 บาท
และต้องชำระอัตราค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์และหลักประกันความเสียหายตามที่กรมธนารักษ์กำหนดไว้ก่อนเข้าพื้นที่
อัตราเงินประกันพื้นที่
ตามที่กรมธนารักษ์กำหนด (เงินประกันความเสียหายเท่ากับจำนวนเงินค่าเช่า)
เงื่อนไขเงินประกันพื้นที่/การคืนเงินประกัน
- ต้องทำหนังสือสัญญาการขอใช้สถานที่ราชพัสดุไม่เกิน 30 วัน กับกรมธนารักษ์ ก่อนเข้าใช้พื้นที่ และจะได้รับเงินคืนเป็นเงินสดหลังการถ่ายทำเสร็จสิ้น
- การคืนหลักประกัน จะคืนภายใน 7 วัน นับจากวันที่สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพฯ ได้รับมอบพื้นที่ที่ขอใช้จัดกิจกรรมจากเอกชนเรียบร้อยแล้ว และเอกชน
จัดส่งเอกสารหลักฐานการรับมอบพื้นที่พร้อมใบเสร็จเงินประกันความเสียหายให้กรมธนารักษ์ เพื่อขอคืนหลักประกันต่อไป
ค่าเบี้ยเลี้ยง/ค่าล่วงเวลาเจ้าหน้าที่
ติดต่อหน่วยงานผู้ดูแลพื้นที่ เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ค่าบริการอื่น ๆ
ติดต่อหน่วยงานผู้ดูแลพื้นที่ เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
รายละเอียดระเบียบเกี่ยวกับค่าบริการ
อัตราค่าปรับ/ค่าเสียหายเบื้องต้น
- กรณีเกิดความเสียหายต่อพื้นที่ให้ปรับปรุงพื้นที่ให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิม
รายละเอียดระเบียบเกี่ยวกับค่าปรับ
หมายเหตุ
-
ช่องทางติดต่อสอบถาม
สำนักงานอุทยานเบญจสิริ 02 262 0810 (สวนเบญจกิติอยู่ภายในการดูแลของสำนักงานอุทยานเบญจสิริ)
bmapublicpark.bkk@gmail.com