รายละเอียดพื้นที่
พิจารณาตามระเบียบพิเศษ: ไม่เกิน 30 วัน
อาคารถาวรวัตถุหรือตึกแดง อาคารยอดปรางค์ 3 ยอด จุดเด่นคือสถาปัตยกรรมที่สวยงามทั้งภายนอกและภายใน
หน่วยงานผู้ดูแลพื้นที่ (มีอำนาจพิจารณาคำขออนุญาตใช้พื้นที่)
1. กรมศิลปากร
กองโบราณคดี และสำนักหอสมุดแห่งชาติ
หมายเหตุ:
อาคารถาวรวัตถุ ต้องผ่านการพิจารณาอนุญาตจากกรมศิลปากร กองโบราณคดี และสำนักหอสมุดแห่งชาติ
รวมเวลาดำเนินการพิจารณาและประสานส่งต่อเรื่องไม่เกิน 30 วันทำการ
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ ที่ควรแจ้งขอใช้พื้นที่
ติดต่อหน่วยงานผู้ดูแลพื้นที่ เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
บริเวณที่อนุญาตให้ถ่ายทำ และจัดตั้งกองถ่าย
พื้นที่ภายนอกและภายในอาคาร
บริเวณที่ไม่อนุญาตให้ถ่ายทำ หรือจัดตั้งกองถ่าย
ติดต่อหน่วยงานผู้ดูแลพื้นที่ เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
พื้นที่ที่เปิดให้ใช้ถ่ายทำภาพยนตร์
ติดต่อหน่วยงานผู้ดูแลพื้นที่ เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ความจุพื้นที่ สำหรับกองถ่าย
ทีมงานและนักแสดงไม่เกิน 30 คน
วันและเวลาที่อนุญาตให้ใช้พื้นที่ เพื่อถ่ายทำภาพยนตร์
วันพุธ - วันอาทิตย์
เวลาถ่ายทำ 09.30 - 16.00 น.
เวลาติดตั้งอุปกรณ์ 8.00 น.
เวลารื้อถอน ไม่เกิน 16.30 น. (ยกเว้นได้รับการอนุญาตจากผู้ดูแลสถานที่)
หมายเหตุ : กรณีวันนักขัตฤกษ์ วันหยุดราชการต้องขออนุญาตเป็นกรณีเพื่อเปิดอาคาร
วันและเวลาที่ไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่ เพื่อถ่ายทำภาพยนตร์/ควรหลีกเลี่ยง
นอกเวลาทำการ
(ยกเว้นได้รับการอนุญาตจากอธิบดีกรมศิลปากร)
ระเบียบการใช้พื้นที่
ข้อกำหนดการใช้สถานที่
- อนุญาตให้ถ่ายทำเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตประจำวันในอดีตหรือปัจจุบัน
- ห้ามทำการสร้างโบราณสถานจำลอง หรือสิ่งปลูกสร้าง
- ห้ามถ่ายทำเนื้อหาที่ขัดต่อศีลธรรม วิธีการทำลายโบราณสถาน แสดงถึงภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกับโบราณสถาน หรือขัดต่อวัฒนธรรมไทยหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของคนไทย
- บท ฉาก และเครื่องแต่งกายไม่ขัดต่อศีลธรรม และไม่มีการทำลายหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์หรือเกิดความเสียหายต่อโบราณสถานและทรัพย์สินของราชการ
- ปฏิบัติตามระเบียบของกรมศิลปากร
- ต้องยื่นเอกสารหลักฐานครบถ้วน (สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ สำเนาทะเบียนบ้าน/ บทบรรยายเรื่อง (Script) หรือบทภาพยนตร์ /แบบฉากและเครื่องแต่งกายของผู้แสดง เฉพาะตอนที่จะถ่ายทำภาพยนตร์ในโบราณสถาน/ จำนวนของนักแสดงและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทำภาพยนตร์เฉพาะตอนที่ถ่ายทำในโบราณสถาน)
ระเบียบและข้อปฏิบัติสำคัญ
ข้อปฏิบัติ/ข้อกำหนด
- ต้องถ่ายทำภาพยนตร์หรือจัดฉากให้ตรงตามบท ห้ามเปลี่ยนแปลงบท แบบฉาก และเครื่องแต่งกายผู้แสดง เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้อนุญาต
- ต้องปฏิบัติตามกฎหรือระเบียบกรมศิลปากร หรือคำสั่งผู้อนุญาตหรือเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมโดยเคร่งครัด
- ไม่กระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โบราณสถาน
- ห้ามติดตั้งอุปกรณ์ที่ต้องเจาะ ยึด ตอก เกาะ เกี่ยวกับตัวโบราณสถาน
- ห้ามวางพิงอุปกรณ์ในการถ่ายทำกับตัวโบราณสถาน ควรเก็บในที่เหมาะสม
- ต้องจัดหาอุปกรณ์สัมภาระที่ใช้สำหรับป้องกันอุบัติเหตอันเกิดขึ้นกับโบราณสถานหรือทรัพย์สินอื่น ๆ ของทางราชการ
- ต้องจัดหาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้ามาเอง
- ห้ามใช้แฟลชภายในอาคาร
รายละเอียดข้อปฏิบัติการใช้สถานที่ (1)
รายละเอียดข้อปฏิบัติการใช้สถานที่ (2)
อุปกรณ์การถ่ายทำที่อนุญาตให้ใช้ในพื้นที่
ติดต่อหน่วยงานผู้ดูแลพื้นที่ เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ยานพาหนะที่อนุญาตให้เข้าจอดในพื้นที่
ติดต่อหน่วยงานผู้ดูแลพื้นที่ เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
สิ่งอำนวยความสะดวกและค่าใช้จ่าย
สิ่งอำนวยความสะดวก
- ห้องสุขาสาธารณะ
- ไม่มีลานจอดรถยนต์ (สามารถติดต่อใช้ร่วมกับวัดมหาธาตุ)
การใช้ไฟฟ้า
ไม่มีไฟฟ้าให้บริการ
ไม่มีค่าบริการ
ผู้ขออนุญาตต้องจัดเตรียมจัดหาด้วยตนเอง
การใช้น้ำประปา
ไม่มีน้ำประปาให้บริการ
ไม่มีค่าบริการ
การใช้ห้องน้ำ
มีห้องน้ำให้บริการ
มีค่าบริการ
ค่าใช้จ่ายห้องสุขาในส่วนบริการประชาชน วันละ 2,000 บาท
อ้างอิงตามประกาศกรมศิลปากร เรื่องอัตราค่าธรรมเนียมและเงินประกันความเสียหายการใช้สถานที่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2548
อัตราค่าบริการใช้สถานที่/ค่าใช้จ่ายเบื้องต้น
- การถ่ายทำสารคดี โฆษณา ละครโทรทัศน์ ภาพนิ่งไทย วันละ 1,000 บาท
- การถ่ายทำภาพยนตร์ไทย วันละ 2,000 บาท
- การถ่ายทำสารคดี โฆษณา ละครโทรทัศน์ ภาพนิ่งต่างประเทศ วันละ 5,000 บาท
- การถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ วันละ 10,000 บาท
- เศษของวันให้นับเป็นหนึ่งวัน
- ในกรณีการถ่ายทำใช้เวลาไม่เกิน 5 ชั่วโมงให้คิดค่าธรรมเนียมครึ่งหนึ่งของอัตราค่าธรรมเนียมที่กำหนด
อัตราเงินประกันพื้นที่
- ละครไทย ค่าประกันความเสียหายเรื่องละ 20,000 บาท
- ภาพยนตร์ไทย ค่าประกันความเสียหาย เรื่องละ 500,000 บาท
- ภาพยนตร์ต่างประเทศ ค่าประกันความเสียหายเรื่องละ 2,000,000 บาท
- สารคดี โฆษณา รายการโทรทัศน์ ภาพนิ่งของไทย และต่างประเทศ ไม่ต้องวางเงินประกันความเสียหาย
เงื่อนไขเงินประกันพื้นที่/การคืนเงินประกัน
- ชำระก่อนการถ่ายทำ ชำระเป็นเงินสด หรือเป็นหนังสือค้ำประกันของธนาคารพาณิชย์ หรือเป็นหนังสือบริษัทประกันภัย โดยมีมูลค่าไม่ต่ำกว่าอัตราค่าธรรมเนียมและเงินประกันความเสียหายที่กำหนดไว้
- ผู้อนุญาตจะคืนเงินประกันความเสียหาย ให้ผู้ได้รับอนุญาตภายใน 3 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ผู้ได้รับอนุญาตได้ถ่ายทำแล้วเสร็จ และผู้อนุญาตได้ตรวจสอบแล้วไม่พบความเสียหายใดๆกับโบราณสถาน
- กรณีเกิดความเสียหายกับโบราณสถานหรือทรัพย์สินของราชการ กรมศิลปากรจะหักเงินประกันความเสียหาย ถ้ากรณีความเสียหายเกิดขึ้นมีมูลค่ามากกว่าจำนวนเงิน กรมศิลปากรขอสงวนสิทธิในการเรียกค่าชดเชยความเสียหายเพิ่มเติม
- กรณีถ่ายภาพยนตร์หรือภาพนิ่งของโบราณวัตถุและศิลปวัตถุของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ แล้วเกิดความเสียหายกับโบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุหรือทรัพย์สินอื่นใดของทางราชการ ผู้ได้รับอนุญาตต้องรับผิดชอบในความเสียหายภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับตามการประเมินค่าทรัพย์สินที่เสียหาย
ค่าเบี้ยเลี้ยง/ค่าล่วงเวลาเจ้าหน้าที่
- เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรที่ได้รับมอบหมายไปควบคุมดูแลการถ่ายทำภาพยนตร์ ได้แก่ นักโบราณคดี นักวิชาการช่างศิลป์ ภัณฑารักษ์ นักวิชาการวัฒนธรรม ช่างศิลปกรรม เป็นต้น ค่าเบี้ยเลี้ยง/ค่าล่วงเวลาตามระเบียบพัสดุของราชการ
- เจ้าหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยทำความสะอาดสถานที่
- เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสถานที่
ค่าบริการอื่น ๆ
ติดต่อหน่วยงานผู้ดูแลพื้นที่ เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
อัตราค่าปรับ/ค่าเสียหายเบื้องต้น
ติดต่อหน่วยงานผู้ดูแลพื้นที่ เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
หมายเหตุ
-
ช่องทางติดต่อสอบถาม
ฝ่ายบริหารงานทั่วไป กองโบราณคดี กรมศิลปากร 02 164 2521, 02 164 2523
-